วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หน่วยที่ 3 พลังงานปิโตรเลียม


1.  สาระสำคัญ
                                พลังงานจากปิโตรเลียมนั้น  มีต้นกำเนิดมาจากสารประกอบอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม  ปิโตรเลียมที่ถูกนำขึ้นมาใช้นั้น  จะมีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ  หรือสีน้ำตาล  ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำมันดิบ   ปิโตรเลียมเป็นพลังงานหลักที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทุกรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวัน  การทำกิจกรรมส่วนตัวหรือส่วนรวม  รวมทั้งกิจการในภาคธุรกิจ  และภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ
                                การนำพลังงานปิโตรเลียมมาใช้จะก่อให้เกิดผลกระทบ คือ  การเผาไหม้ของปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศ  ซึ่งจะส่งผลต่อสุขอนามัยของมนุษย์  และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.   สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
มีความรู้   ความเข้าใจ   เกี่ยวกับพลังงานจากปิโตรเลียม กำเนิดของปิโตรเลียม  การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม  ประโยชน์ของปิโตรเลียม    และตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้พลังงานจากปิโตรเลียม                       
3.   จุดประสงค์การเรียนรู้             
1.    อธิบายเกี่ยวกับปิโตรเลียมได้
2.    บอกถึงกำเนิดของปิโตรเลียมได้
3.    อธิบายขั้นตอนในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมได้
4.    ระบุประโยชน์ของปิโตรเลียมได้
5.   วิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้พลังงานปิโตรเลียมได้

แบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยที่  3
คำชี้แจง      จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1.    สารต้นกำเนิดของพลังงานปิโตรเลียมได้แก่ข้อใด
              ก.   สารตะกั่ว
              ข.   สารอินทรีย์
               ค.   สารอนินทรีย์
              ง.   สารสังเคราะห์
2.    คำว่า ปิโตรเลียม  หมายถึงอะไร
              ก.   น้ำมัน
              ข.  น้ำมันที่ได้จากดิน
              ค.  น้ำมันที่ได้จากหิน
              ง.  น้ำมันที่ได้จากการตกตะกอน
3.    ชาวจีนโบราณมีการนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ในเรื่องใด
             ก.  ใช้ดองศพ
             ข.  ต้มน้ำเกลือ
             ค.  ใช้รักษาโรค
             ง.   เป็นวัสดุเชื่อมประสาน
4.    บุคคลในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการนำปิโตรเลียมมาใช้ในประเทศไทย
              ก.   กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
              ข.   กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
               ค.   กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
              ง.   กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
5.    ปิโตรเลียมถูกค้นพบครั้งแรก ณ บริเวณใดในประเทศไทย
              ก.   จังหวัดลำพูน
              ข.   จังหวัดเชียงใหม่
               ค.   จังหวัดเชียงราย
              ง.   จังหวัดแม่ฮ่องสอน
6.    การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง เป็นการสำรวจปิโตรเลียมแบบใด
              ก.   การสำรวจทางธรณีวิทยา
              ข.   การสำรวจทางปฐพีวิทยา
              ค.   การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
              ง.   การสำรวจทางพื้นฐานโครงสร้าง
7.    การตรวจสอบหาค่าความโน้มถ่วง จะส่งผลในข้อใด
              ก.   กำหนดขอบเขตของแอ่งตะกอน
              ข.   กำหนดลักษณะของแอ่งตะกอน
              ค.   กำหนดเครื่องมือในการตรวจสอบ
              ง.   กำหนดคุณสมบัติปิโตรเลียมในการตรวจสอบ
8.   การสำรวจหาปิโตรเลียมในข้อใดสามารถทำได้ทั้งบนบกและทะเล
               ก.   การเจาะสำรวจ
              ข.   การสำรวจทางธรณีวิทยา
              ค.   การสำรวจทางปฐพีวิทยา
               ง.   การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
9.    การนำพลังงานปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์นั้น ส่วนมากใช้ในข้อใด
              ก.   การขนส่ง
              ข.   การก่อสร้าง
              ค.   การเกษตรกรรม
              ง.   การอุตสาหกรรม
10.   น้ำมันเตาส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมใด
            ก.   การเกษตรกรรม
            ข.   การอุตสาหกรรม
            ค.   การผลิตกระแสไฟฟ้า
            ง.   เครื่องกำเนิดความร้อน

                                เนื้อหา
1.   ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปิโตรเลียม (Petroleum)
2.   กำเนิดของปิโตรเลียม


         ภาพที่  1    แสดงชั้นหินรูปกระทะคว่ำเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
3.   การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม   จำแนกออกได้เป็นขั้นตอนหลัก  3  ขั้นตอน  
      3.1.    การสำรวจทางธรณีวิทยา  (Geological  exploration)               
      3.2    การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์  (Geophysical exploration) 
    3.3    การเจาะสำรวจ    (Drilling  exploration)     
4.   ประโยชน์ของปิโตรเลียม     อาทิเช่น
       4.1   ใช้ในการขนส่งประมาณร้อยละ  46  ของปิโตรเลียม    ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ในระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal combustion engine)  
       4.2    ใช้ในเครื่องกำเนิดความร้อนและให้แสงสว่าง  
         4.3    ใช้เป็นวัสดุหล่อลื่น  กันซึม  ขัดมัน
       4.4   สารสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ ที่สังเคราะห์จากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม  เช่น  พลาสติก  เส้นใยสังเคราะห์  ยางสังเคราะห์
           4.5   ใช้ในการก่อสร้าง
5.   ผลกระทบจากการใช้พลังงานปิโตรเลียม
      การเผาไหม้ปิโตรเลียมจะก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ  โดยจะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน  รวมทั้งส่งผลต่อ  สัตว์  พืช  และสภาพแวดล้อม
บทสรุป

พลังงานจากปิโตรเลียม เป็นพลังงานที่ใช้ได้ง่ายและสะดวกที่สุด  เมื่อนำปิโตรเลียมไปกลั่นแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง  เช่น  น้ำมันเตาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล ใช้ในภาคการผลิตและการขนส่ง  น้ำมันเบนซินใช้ในการคมนาคมขนส่ง    แม้ว่าประเทศไทยจะมีแหล่งปิโตรเลียม  แต่ก็ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ  ปัจจุบันมีการขยายตัวทางภาคอุตสาหกรรม   ส่งผลให้มีความต้องการพลังงานชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น  ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ  สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น  หนทางที่จะสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  คือการร่วมมือกันในการร่วมมือกันอนุรักษ์และใช้อย่างคุ้มค่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความอยู่รอดในอนาคต
แบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยที่   3
ตอนที่  1       จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดมีความหมายว่า  หิน
                ก.  Petra
                ข.  Oleum
                ค.  Seneca  Oil
                ง.  Petroleum
2.  ในอดีตมีการนำน้ำมันในข้อใดมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
                ก.  ปลาวาฬ
                ข.  ปลาฉลาม
                ค.  ปลาโลมา
                ง.   ปลาพะยูน
3.  ข้อใด  คือ  บุคคลคนแรกที่ขุดพบน้ำมัน
                ก.  เจ้าหลวงเชียงใหม่
                ข.  เอ็ดวิน  แอล  เดรก
                ค.  ซามูเอล  เอ็ม  เกียร์
                ง.  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
4.  ในประเทศไทยมีการขุดพบปิโตรเลียมในบริเวณใด
                ก.  จังหวัดพะเยา
                ข.  จังหวัดเชียงราย
                ค.  จังหวัดเชียงใหม่
                ง.  จังหวัดแม่ฮ่องสอน
5.  ข้อใดหมายถึงประเภทของปิโตรเลียม
                ก.  น้ำมันดิบ
                ข.  ก๊าซธรรมชาติ
                ค.  ก๊าซธรรมชาติเหลว
                ง.  ทุกข้อคือคำตอบ
 6.  ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้คีโรเจนแปรสภาพเป็นปิโตรเลียมคือข้อใด
                ก.  อุณหภูมิ
                ข.  ความชื้น
                ค.  ความกดอากาศ
                ง.  ความเป็นกรดเป็นด่าง
7.  ก๊าซมีเทน  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
                ก.  Marsh  gas
ข.  Swamp  gas
ค.  Biogenic  gas
ง.  ทุกข้อคือคำตอบ
8.  การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมโดยพิจารณาคุณสมบัติด้านแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นขั้นตอนในข้อใด
                ก.  การเจาะสำรวจ
                ข.  การสำรวจทางเคมี
                ค.  การสำรวจทางธรณีวิทยา
                ง.  การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
9.  การประเมินหาความสามารถในการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งกักเก็บที่สำรวจพบอยู่ในขั้นตอนใด
                ก.  การเจาะสำรวจ
                ข.  การสำรวจทางเคมี
                ค.  การสำรวจทางธรณีวิทยา
                ง.  การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
10.  ข้อใด คือการใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียม
                ก.  ใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรม
                ข.  ใช้ในการคมนาคมขนส่ง
                ค.  ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
                ง.  ทุกข้อคือคำตอบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น